หลักสูตรมวยไทย
WMC – IFMA- iGLA
1. คำนำ
หลักสูตรมวยไทย ไอกล้า คือการศึกษามวยไทยโดยที่ครูผู้สอนใช้หลักสูตรการสอนรวมไปถึงการใช้ภาพแอนนิเมชั่นจากหลักสูตรมวยไทย ไอกล้าเพื่อการสอน ดังนั้นผู้ที่จะเป็นครูฝึกสอนจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจกับหลักสูตรให้ละเอียดและเข้าใจว่าจะสามารถนำหลักสูตรนี้ไปทำการฝึกสอนอย่างไร ในหลักสูตรนี้นักเรียนจะสามารถศึกษาท่วงท่าที่ถูกต้องตามตำรามวยไทยในภาพแอนนิเมชั่นแบบ 360 องศาและชมได้ซ้ำๆจนกว่าจะเข้าใจก่อนนำไปฝึกฝนจริง นอกจากนี้ครูผู้ฝึกสอนจะต้องเน้นย้ำเรื่องข้อดี ข้อเสีย และวิธีการนำไปใช้ของแต่ละท่าให้นักเรียนเข้าใจ
สำหรับการสอนในแต่ละระดับผู้ฝึกสอนจะต้องสามารถนำนักเรียนให้อบอุ่นร่างกายตามแบบฉบับของมวยไทย และสามารถนำนักเรียนให้ทำกิจกรรมต่างๆ จากที่ได้เรียนรู้ในชั้นเรียนออกไปใช้ได้ และที่สำคัญที่สุดคือต้องสามารถให้คะแนนนักเรียนในการผ่านเลื่อนขั้นได้
ระดับการเรียนในหลักสูตรมีทั้งหมด 3 ระดับ
– ระดับเริ่มต้นทั้งหมด 6 ขั้น
– ระดับกลางทั้งหมด 1 ขั้น
– ระดับสูงทั้งหมด 2 ขั้น
การสอนนักเรียนในเรื่องของการไหว้ครูในมวยไทยนั้นก็เป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญสำหรับหลักสูตรมวยไทย เพราะการไหว้ครูนั้นเป็นเอกลักษณ์ที่พิเศษเฉพาะของมวยไทย เป็นการสานต่อวัฒนธรรมการเคารพครู ผู้ใหญ่ พ่อแม่ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อและขนบธรรมเนียมไทยที่มีมานาน
2. ระยะเวลาในการเรียนแต่ละขั้น
ขั้น | เนื้อหาสำคัญ | จำนวนของท่า | ระยะเวลาการเรียน ( 2 ชั่วโมง/ชั้นเรียน ) |
---|---|---|---|
1 | – ตั้งการ์ด | 12 | |
– การเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่างๆ | |||
– ไหว้ครู ขั้นเริ่มต้น | 8 | ||
2 | – การใช้หมัด | 8 | 12 |
– หมัดป้องกัน | 5 | ||
3 | – การเตะ | 16 | |
– การถีบ | 9 | ||
– เตะ | 9 | ||
– การป้องกันด้วยการเตะ | 5 | ||
4 | – เข่า | 14 | 12 |
– การป้องกันด้วยเข่า | 4 | ||
5 | – ศอก | 12 | 12 |
– การป้องกันด้วยศอก | 4 | ||
6 | – การป้องกันตัวขั้นเริ่มต้น | 25 | 16 |
7 | – เทคนิคการใช้หมัด | 7 | 24 |
– เทคนิคการเตะ | 7 | ||
– เทคนิคการใช้เข่า | 7 | ||
– เทคนิคการใช้ศอก | 7 | ||
8 | – กลยุทธ์การใช้หมัด | 10 | 24 |
– กลยุทธ์การเตะ | 6 | ||
– กลยุทธ์การใช้เข่า | 3 | ||
– กลยุทธ์การใช้ศอก | 4 | ||
9 | – ศิลปะการไหว้ครูขั้นสูง | 18 | 16 |
ทั้งหมด | 172 | 144 |
3. ขั้นตอนการสอนมวยไทยโดยการใช้หลักสูตรไอกล้าภายใน 1 ชั้นเรียน (2 ชั่วโมง)
1. การเตรียมตัว (20 นาที):
ในขั้นตอนการเตรียมตัวผู้สอนจะต้องนำนักเรียนเข้าสู่การเรียนด้วยความพร้อมทั้งกายและใจ การพูดให้กำลังใจ การตรวจสอบเครื่องแต่งกายและพานักเรียนอบอุ่นรางกายตามแบบฉบับของมวยไทย
2. การสอน (20 นาที):
ในขั้นตอนการสอนผู้สอนจะเปิดภาพแอนนิเมชั่นของท่าที่จะสอนในชั้นเรียนนั้นให้นักเรียนชม พร้อมการอธิบายท่าทาง ความเป็นมา จุดเด่นของท่า ข้อดีข้อเสีย เทคนิคการนำท่ามาใช้กับสถานการณ์ต่างๆ และแสดงท่าให้กับนักเรียนได้ชมจริงเป้นตัวอย่างก่อนฝึก
3. การฝึก (40 นาที):
นักเรียนจะมีเวลา 40 นาทีในการฝึกท่ามวยไทยของชั้นเรียนนั้นโดยครูผู้ฝึกจะต้องดูแลกำกับอย่างใกล้ชิดให้นักเรียนทำท่าที่ถูกต้องและแนะนำวิธีการฝึกฝนเพิ่มเติมให้ดีขึ้นสำหรับนักเรียนแต่ละคน
4. การใช้ (30 นาที)
ในขั้นนี้ผู้ฝึกสอนสามารถให้นักเรียนทำกิจกรรมตามที่ผู้ฝึกสอนเห็นสมควรไม่ว่าจะเป็นการจับคู่ การแสดงท่าแบบเดี่ยว หรืออื่นๆเพื่อให้นักเรียนสามารถแสดงให้เห็นว่าได้เรียนรู้ท่านี้อย่างถ่องแท้แล้วโดยครูผู้ฝึกสอนคอยให้คะแนนและดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดระหว่างฝึกซ้อม
5. การให้คะแนน (10 นาที)
ในการสรุปการเรียนของชั้นเรียนนั้นๆ ผู้ฝึกสอนจะต้องสรุปโดยรวมให้นักเรียนได้ทราบในสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนั้น รวมไปถึงข้อผืดพลาดโดยรวม การแก้ไข และแนะนำการฝึกฝนเพิ่มให้นักเรียน การให้คะแนนสามารถทำได้โดยการสังเกตและพูดคุย
4. การประเมินนักเรียน
การประเมินนั้นแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
1.ประเมินด้านความรู้และความเข้าใจโดยนักเรียนจะต้องสามารถอธิบายว่า:
– ในแต่ละขั้นนั้นมีท่าอะไรบ้าง
– สามารถอธิบายประโยชน์ของทุกท่าในแต่ละขั้นได้
– สามารถอธิบายได้ว่าแต่ละท่าในแต่ละขั้นนั้นสามารถใช้และไม่สามารถใช้ได้ในสถานการณ์ใดบ้าง
2. การประเมินด้านความคิดและความรู้สึกของนักเรียนต่อกีฬาที่นักเรียนกำลังศึกษา การประเมินด้านความสนใจและเอาใจใส่ในการฝึกฝนและความเข้าใจในการรู้แพ้ รู้ชนะของกีฬา โดยสิ่งเหล่านี้สามารถประเมินได้จาก
– การมาเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอ
– ปฏิบัติตามกฎกฏิกาต่างๆของมวยไทยอย่างเคร่งครัด
– การให้ความเคารพต่อครูผู้ฝึกสอนและเพื่อนร่วมชั้นเรียน
3. การประเมินความสามารถโดยการประเมินท่วงท่าของนักเรียนให้มีความถูกต้อง เฉียบขาดและมีพลัง
– ท่วงท่าที่ถูกต้อง
– ความมีพลัง ว่องไว
– การเคลื่อนไหวที่สมดุลย์
5. แบบฟอร์มการประเมิน
ระดับ | ขั้น | วิชา |
---|
การประเมินความรู้ (100) | ||
---|---|---|
อธิบายท่าทั้งหมด (40) | อธิบายประโยชน์ของท่า (40) | อธิบายประโยชน์ของท่า (20) |
การประเมินอุปนิสัย (100) | ||
---|---|---|
ความเอาใจใส่การเรียน (60) | การปฏิบัติตามกฏ (20) | การเคารพผู้อื่น(20) |
การประเมินความสามารถ(100) | ||
---|---|---|
ท่วงท่าที่ถูกต้อง (50) | ความสมดุลย์ของการเคลื่อนไหว (20) | ความคล่องแคล่ว (30) |
6. วิธีการประเมิน
ครูผู้ฝึกสอนจะเป็นผู้ทำการประเมินและให้คะแนนโดยการสังเกต การพูดคุยและการให้นักเรียนทำข้อสอบต่างๆและในที่สุดนำผลคะแนนมารวมกันเพื่อหาค่าเฉลี่ยของการประเมินในแต่ละหัวข้อ
7. การตัดสิน
นักเรียนที่จะได้รับการตัดสินให้ผ่านเลื่อนขั้นจะต้องมีคะแนนไม่ต่ำกว่า 80%
8. ผู้ประเมิน
ผู้ที่จะทำการประเมินสำหรับหลักสูตรมวยไทยไอกล้าจะต้องเป็นผู้ฝึกสอนมวยไทยที่มีคุณวุฒิซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานจาก WMC-IFMA หรือจากองค์กรกีฬามวยที่ได้รับการรับรองจาก WMC-IFMA และมีวุฒิบัตรดังต่อไปนี้
1. วุฒิบัตรครู
2. วุฒิบัตรผู้ช่วยครูใหญ่
3. วุฒิบัตรครูใหญ่
สำหรับวุฒิบัตรครูเชี่ยวชาญและบรมครูซึ่งเป็นฐานะที่ได้รับการแต่งตั้งเท่านั้น 2ชนิดนี้จะสามารถประเมินนักเรียนได้ในทุกๆระดับขั้น
ครูผู้ประเมินจะต้องแจ้งนักเรียนถึงระดับขั้นที่นักเรียนได้ไปถึงพร้อมจัดการให้ทางสโมสรหรือยิมต้นสังกัดเรื่องการทำการขอประกาศนียบัตร พร้อมประเจียดและมงคลในสีต่างๆตามระดับขั้นของนักเรียน
อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญสำหรับนักเรียนมวยไทยคือการได้เข้าร่วมพิธีไหว้ครูพร้อมกันในวันมวยไทยโลกซึ่งมีการจัดขึ้นทุกๆปีที่ประเทศไทย นักเรียนมวยไทยควรจะต้องมีชุดมวย พร้อมประเจียดและมงคลเป็นของตัวเอง