มวยไทยไอกล้า อัตลักษณ์วัฒนธรรมไทยสู่โลกกับอนาคตที่ไกลกว่าเดิม

 

 

 

 

 

วันนี้มวยไทยไอกล้าได้ขยายขีดความสามารถในการเข้าถึงศิลปะมวยไทยด้วยการใช้วิทยาศาสตร์การกีฬามาช่วยในการวัดค่าของการออกอาวุธต่างๆเพื่อให้เราสามารถประยุกต์เข้ากับการออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสมตามอายุ เพศและความสมบูรณ์ของร่างกาย โดยสร้างความร่วมมือเป็นอันดีกับคณะวิทยาศาสต์การกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดลและกลุ่มโรงพยาบาลธนบุรี เกิดท่ากายบริหารที่สามารถออกกำลังได้ทุกสัดส่วนและ มีขบวนท่าที่รองรับผู้ออกกำลังกายได้ทุกเพศทุกวัย

 

 

มวยไทยไอกล้า เป็นโครงการภายใต้สภามวยไทยโลก ซึ่งได้ดำเนินโครงการมากว่าเจ็ดปี ในการสร้างมาตรฐานมวยไทยดิจิทัล ด้วยการรวบรวมตำรา 5 สาย นำมาจัดทำหลักสูตร 9 ขั้น 172 ท่า ทำให้สามารถรองรับการเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน จนสามารถเป็นคู่มือการเรียนการสอนมวยไทยที่ได้มาตรฐานและถูกนำไปใช้ในการเรียนมวยไทยมาตรฐานโลก

ขณะนี้ มวยไทยไอกล้า ได้ขยายขอบเขตไปในมิตินอกเหนือจากเดิม ด้วยวิสัยทัศน์ของ พลเอกเชษฐา ฐานะจาโร ที่จะนำมวยไทยไอกล้าเข้าสู่วิทยาศาสตร์การกีฬา การออกกำลังกาย สุขภาพ ดิจิทัลยิม และแอปลิเคชั่น

ไอกล้าในมิติต่างๆ หรือที่เราเรียกว่า OPEN iGLA จึงเกิดขึ้น ด้วยความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชน ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ซึ่งการประกาศผลิตภัณฑ์แต่ละด้านในปี 2020 นี้ จะสร้างปรากฏการใหม่ในมวยไทย ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากความร่วมมือและความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการผลักดันให้กีฬามวยไทยข้ามพ้นจากการเป็นกีฬาประจำชาติสู่ กีฬามรดกโลกและยังคงเอกลักษณ์ของศิลปะมวยไทยไว้อย่างครบถ้วนที่สุด

 

 

มวยไทยไอกล้า ได้นำจุดแข็งทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลไม่ว่าจะเป็น IOT ,3D real time, Augmented Reality มาส่งเสริมศิลปะมวยไทยเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มสตรี เยาวชน และผู้รักการออกกำลังกาย โดยพัฒนาเป็นเกมการออกกำลังกายด้วยท่ามวยไทย, คอนเทนต์องค์ความรู้ทางด้านมวยไทยสำหรับผู้สนใจเชิงลึก ทั้งภาษาไทย จีน อังกฤษ และ ระบบการเรียนการสอนที่สามารถติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียนได้ รวมถึงการเป็นตัวแทนผ็นำสินค้าที่เกี่ยวข้องกับมวยไทย เข้าสู่มาตรฐานโลก

บทพิสูจน์ความตั้งใจอันแน่วแน่ ของมวยไทยไอกล้าคือ

คู่มือการสอนมวยไทยของไอกล้าเป็น animation สามมิติ ที่รองรับการศึกษามวยไทยโดยมีเนื้อหาจากกระทรวงวัฒนธรรม ได้รับการรองรับโดย UNESCCO สามาถเข้าถึงประเทศที่ห่างไกลแต่สนใจศิลปะประจำชาติอย่างได้ผลทั่วโลก

 ได้รับการคัดเลือกจากสภาอุตสาหกรรมในการเป็น 1 ใน 10 ผู้ประกอบการยอดเยี่ยมของโครงการ SME Hight Value เป็นผู้ประกอบการที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใชประยุกต์เข้ากับศิลปะวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติได้อย่างลงตัว

 ได้รับการร่วมทุนจาก รายการ Shark Tank Thailand ในการประกอบกิจการในการขยายสาขามวยไทยสำหรับการออกกำลังกายทั่วโลก

 

 

 

 

 

มวยไทยไอกล้า นำผลวิจัยนำมาใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น IOT ,3D real time, Augmented Reality เพื่อจัดทำแอปลิเคชั่นมวยไทยเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มสตรี เยาวชน และผู้รักการออกกำลังกาย โดยพัฒนาเป็นเกมการออกกำลังกายด้วยท่ามวยไทย, คอนเทนต์องค์ความรู้ทางด้านมวยไทยสำหรับผู้สนใจเชิงลึก ทั้งภาษาไทย จีน อังกฤษ และ ระบบการเรียนการสอนที่สามารถติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียนได้ รวมถึงการเป็นตัวแทนผู้นำสินค้าที่เกี่ยวข้องกับมวยไทย เข้าสู่มาตรฐานโลก 

องค์การอนามัยโลกและสถาบันเวชศาสตร์การกีฬาแห่งอเมริกาได้แนะนำระดับกิจกรรมทางกายหรือการออกกำลังกายที่เพียงพอสำหรับเด็กและเยาวชนที่มีอายุตั้งแต่ 6-17 ปี ว่าควรมีการเคลื่อนไหวออกแรงระดับปานกลางถึงหนักอย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน ส่วนผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ควรออกแรงระดับหนักเป็นเวลา 75 นาทีต่อสัปดาห์ และระดับปานกลางเป็นเวลา 150 นาทีต่อสัปดาห์ และลดพฤติกรรมที่มีการเคลื่อนไหวน้อยซี่งเป็นกิจกรรมที่มีการใช้พลังงานต่ำ (1-1.5 เท่าของการใช้พลังงานขณะพัก) ได้แก่ การนั่งๆนอนๆ การใช้เวลาหน้าจอโทรศัพท์ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น(2-3)   แม้จะเป็นที่ทราบกันดีว่าการมีกิจกรรมทางกายรวมถึงการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอมีประโยชน์ ส่งผลให้คนมีสุขภาพและสุขภาวะและที่ดีสุขภาพพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์และลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 

แต่ผลการสํารวจในอดีตจนถึงปัจจุบันกลับชี้ให้เห็นชัดเจนว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังขาดการมีกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายที่เพียงพอ และมีพฤติกรรมเนือยนิ่งเพิ่มมากขึ้น โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ทำการสำรวจในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ และรายงานว่าประชากรไทยอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป มีอัตราการทํางานออกแรงระดับหนักหรือปานกลางร้อยละ 37.2 และมีอัตราการเล่นกีฬา/ออกกําลังกายหรือทํากิจกรรมนันทนาการระดับหนักหรือปานกลางเพียงร้อยละ 23.7(4) นอกจากนี้จากการสำรวจเกี่ยวกับระดับกิจกรรมทางกายในคนไทย โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ปี พ.ศ. 2557 รายงานว่าคนไทยอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปมีกิจกรรมทางกายเพียงพอร้อยละ 71.6(5) ส่วนการศึกษาในปี พ.ศ. 2558 โดยนุชราภรณ์และคณะ(6)  พบว่าประชากรไทยอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป มีระดับกิจกรรมทางกายที่เพียงพอเพียงร้อยละ 42.4 และร้อยละ 33.8 มีระดับกิจกรรมทางกายน้อย-เนือยนิ่งมาก สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของสัดส่วนผู้ที่มีภาวะอ้วนและอ้วนลงพุง คือจากร้อยละ ๒๘.๗ 

ในปี ๒๕๔๗ เป็นร้อยละ ๓๔.๗ ในปี ๒๕๕๗ โดยอยู่เป็นลำดับที่สองในประเทศแถบภูมิภาคอาเซียน(7)

นอกจากนี้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติและกรมอนามัยรายงานว่าสถานการณ์ภาวะอ้วนในเด็กวัยเรียนมีการเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.9 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 10.9 ในปี 2555(8) และ ร้อยละ 12.5 ในปี 2558(9) ปัญหาการมีกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอและการมีพฤติกรรมเนือยนิ่งในกลุ่มเด็กและเยาวชน รวมทั้งในกลุ่มผู้ใหญ่ต้องได้รับความสนใจเป็นพิเศษและแก้ไขให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ส่งผลกระทบต่อสมรรถนะในการทำงานของคนในวัยทำงานอีกด้วย เนื่องจากในปัจจุบันสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเป็นสังคมสูงวัย (Aging Society) และกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเมื่อสัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นจนถึงร้อยละ 20 หรือ 1 ใน 5 ของจำนวนประชากรทั้งหมด(10) การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ย่อมส่งผกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาทิเช่น ประชากรวัยทำงานจะต้องรับภาระที่มากขึ้นในการดูแลผู้สูงอายุ นอกจากนี้กลุ่มคนที่มีปัญหาสุขภาพอยู่ก่อนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอาการหรือกลุ่มโรคต่างๆ หากมีกิจกรรมทางกายหรือมีการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมต่อกลุ่มโรคนั้นๆ จะช่วยส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น และอาจนำไปสู่คุณภาพในการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้นได้  

 

 

โดยสำนักงานสถิติได้รายงานเกี่ยวกับจำนวนผู้ป่วยใหม่ จากสถานบริการสาธารณสุข ของกระทรวงสาธารณสุขทั่วราชอาณาจักรพบว่า ตั้งแต่ปี 2548 ถึง ปี 2557 มีจำนวนผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นร้อยละ 58 โดยโรคที่เกี่ยวทางระบบทางเดือนหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด โรคที่เกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ โภชนาการและเมตาบอลิซึมและระบบกล้ามเนื้อและโครงร่าง เป็น 4 กลุ่มโรคที่มีจำนวนผู้ป่วยมากที่สุด จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่าคนไทยมีปัญหาสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพของคนก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ช่วงสูงวัยหรือผู้ที่อยู่ในกลุ่มสูงวัยแล้วให้มีพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง รวมถึงส่งเสริมสุขภาวะในกลุ่มผู้ที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจะช่วยลดผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจได้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขและสวัสดิการของรัฐ และอัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานของประเทศ   

จากการวิจัยและงานที่กำลังดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมให้คนในสังคมทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางสุขภาพที่เหมาะสมกับวัยด้วยรูปแบบการออกกำลังกายที่ถูกวิธีตามหลักวิทยาศาสตร์การกีฬาโดยเฉพาะรูปแบบการออกกำลังกายด้วยท่ามวยไทย ที่มีเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทยและคุณค่าของความเป็นไทย และการเสริมสร้างศักยภาพให้โรงเรียน ชุมชนและสังคมมีส่วนร่วมในการสนับสนุนส่งเสริมการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้คนทุกช่วงวัยสามารถรออกกำลังกายและเล่นกีฬาได้อย่างทั่วถึง  ถูกต้องซึ่งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศจากการที่คนมีสุขภาพสมบูรณ์ มีสุขภาวะที่ดี ลดการพึ่งพิงค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาลของภาครัฐและการใช้เวลาว่างที่เป็นประโยชน์ 

 

 

นอกจากนี้การออกกำลังกายและการเล่นกีฬาดังกล่าวจะเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนากีฬาเพื่อความเป็นเลิศและอาชีพของประเทศต่อไปอีกด้วยในปัจจุบันได้มีการรวบรวมและเผยแพร่ท่าไม้มวยไทย  แต่ยังไม่มีการพัฒนาเป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่เฉพาะเจาะจงและเหมาะสมกับกลุ่มวัยและวัตถุประสงค์ของการออกกำลังกาย ตลอดจนการศึกษาถึงผลของการออกกำลังกายด้วยโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านสุขภาพกายและใจ และสมรรถภาพร่างกายในกลุ่มวัยต่างๆนั้น สิ่งสำคัญคือการต่อยอดในเชิงการตลาดและการพาณิชย์ ในการนำผลวิจัยมาประยุกต์กับระบบแอปลิเคชั่นสมัยใหม่ เช่นระบบแอนิเมชั่นท่ามวยไทย ระบบการเรียนมวยไทยด้วย AI ระบบแทรกติดตามอัตราการเต้นหัวใจ Heart rate, Resting rate, Peak rate, Tracking  ระบบ Self-training และระบบนิเวศน์ดิจิทัล ในด้านต่างๆ อาทิ กระสอบทรายเซนเซอร์ นวม IOT เสื้อผ้ากีฬาติดตั้งระบบแทรกกิ้ง ระบบวัดความถูกต้องของท่วงท่าด้วยปัญญาประดิษฐ์ การออกกำลังกายด้วยท่ามวยไทยด้วยเออาร์ เป็นต้น  ระบบต่างๆเหล่านี้เป็นการต่อยอดนำงานวิจัยสู่กระบวนการสร้างสรรค์ทางดิจิทัลเพื่อสร้างมาตรฐานทางด้านการกีฬาและการออกกำลังกายด้วยมวยไทยต่อไป

 

 

 

 

 

มวยไทยไอกล้าได้รับการคัดเลือกจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ให้เป็น TOP-10 IP Champion of the year 2018 และในปี 2019ได้รับรางวัลผู้ประกอบการยอดเยี่ยม SME High Value จากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เนื่องจากเป็นผู้ประกอบการที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใชประยุกต์เข้ากับศิลปะวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ 

และสามารถต่อยอดในการสร้างรายได้จากอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อาทิ ร่วมมือกับบริษัทต่างชาติทำ Co-Production ดิจิทัลเกมมวยไทย กับ Dr. Yang Mee Eng โดยได้รับเชิญไปจัดนิทรรศการในงาน TI EXPO 2019 

 

 

 

นอกจากนี้ ยังได้รับการร่วมทุนจาก รายการ Shark Tank Thailand ในการประกอบกิจการในการขยายสาขามวยไทยสำหรับการออกกำลังกายทั่วโลก