
มวยไทย
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
มวยไทย เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของชนชาติไทยมาแต่ครั้งโบราณ เป็นการใช้อาวุธของร่างกาย ๙ อย่าง หรือที่เรียกว่า นวอาวุธ ได้แก่ มือ ๒ เท้า ๒ เข่า ๒ ศอก ๒ และศีรษะ ๑ อย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นศิลปะการต่อสู้ที่เก่าแก่ประเภทหนึ่งของโลก
Muaythai :
Intangible Cultural Heritage
Muaythai belongs to Thailand’s intangible cultural heritage. The origin of this traditional Thai martial art can be traced back to the dawn of the nation’s history. It is the art of efficiently using nine body parts viz. two fists, two feet, two knees, two elbows, and the head as weapon (called Nava-arvudh in Thai). Muaythai is not only important at individual, community, social, and national levels, but also has long played a vital part in. protecting the, kingdom’s sovereignty

มวยไทยเป็นศิลปะการป้องกันตัวและเป็นศาสตร์ที่ชายชาติทหารจะต้องฝึกให้คล่องแคล่ว ดังคำกล่าวที่ว่ามวยนั้นเป็นมูลบทของวิชายุทธ์ เพลงอาวุธเป็นมัธยม และพระพิชัยสงครามเป็นมงกุฎ
มวยไทยเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการใช้อุบาย ชั้นเชิงไหวพริบ และวิชาเข้าต่อสู้กัน จึงปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารว่า ในอดีต พระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถจะทรงเชี่ยวชาญการชกมวยเป็นอย่างยิ่ง ขณะเดียวกัน เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ขุ่นนางฝ่ายทหาร และสามัญชนจะฝึกฝนมวยไทยเพื่อป้องกันตัวและชาติบ้านเมือง เพราะการใช้อาวุธ เช่น กระบี่ กระบอง พลอง ดาบ ง้าว ทวน ประกอบกับมวยไทย จะทำให้การใช้อาวุธนั้นเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการต่อสู้ป้องกันตัวระยะประชิด
ในยามสงบ มวยไทยจะเป็นการประลองพละกำลังและชั้นเชิงการต่อสู้จนกลายเป็นกิจกรรมทางสังคมมีการแข่งขันมวยในโอกาสสำคัญๆ ดังปรากฏในกฎหมายตามสามดวง หมวดพระอัยการเบ็ดเสร็จที่กล่าวถึงการชกมวยไว้ว่า “…๑๑๗ มาตราหนึ่ง ชนทังสองเปนเอกจิตเอกฉันท์ ตีมวยด้วยกันก็ดี แลปล้ำกันก็ดี และผู้หนึ่งต้องเจ็บปวดก็ดี ค่นหักถึงแก่มรณภาพก็ดีท่านว่าหาโทษมิได้….”
มวยไทยจึงมีความสำคัญทั้งต่อบุคคล ชุมชน สังคม และประเทศชาติ มีส่วนสำคัญยิ่งในการดำรงเอกราชของชาติไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
มวยไทยนั้นได้พัฒนาขึ้นมาบนผืนแผ่นดินที่ในอดีตกาลเรียกว่า “สุวรรณภูมิ” อันประกอบไปด้วยบ้านเมืองน้อยใหญ่ที่รู้จักกันในปัจจุบันว่า พม่า ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย มวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ที่ได้ผ่านการคิดค้น ศึกษา และปรับเปลี่ยนให้มีความลุ่มลึก “…ได้มีกฎมณเฑียรบาลยุคต้นกรุงศรีอยุธยา “ปล้ำมวย” ในกฎมณเฑียรบาลเป็นการละเล่นในพระราชพิธีของราชสำนักกรุงศรีอยุธยาน่าจะมีสืบเนื่องมาแต่ยุคละโว้ อโยธยาราวหลัง พ.ศ.๑๕๐๐ หรือก่อนหน้านั้นก็ได้…”
อาจกล่าวได้ว่า มวยไทยนั้นได้รับการอนุรักษ์ทำนุบำรุงมาเป็นเวลานานหลายพันปี ปรากฏอยู่ในตำนานของบ้านเมืองบนผืนแผ่นดินสุวรรณภูมิ ได้แก่ ตำนานการปล้ำพนันเมือง การแข่งขันมวยไทยโดยมีบ้านเมืองเป็นเดิมพัน เช่น พงศาวดารเหนือ ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า “…สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง (พระพรรษา) ตรัสใช้คน ให้ไปเอาคนปล้ำพนันทั้งคู่ และรูปพระยาแกรกนั้น มาแต่เมืองอินทปัตนคร มาไว้ในเมืองศรีอยุธยา…” อีกตอนหนึ่งความว่า “…จำเดิมแต่นั้นมาพระเจ้ากรุงจีนรู้ข่าวว่าพระเจ้าหลานได้เสวยราชสมบัติ ณ เมืองศรีอยุธยา (อู่ทอง) พระองค์ให้แต่งจีนคนหนึ่งมีกำลังจะให้เข้าไปปล้ำพนันเมือง จึงให้จีนใช้สำเภาเข้ามาสู่ด้วยไทย สู้ไทยไม่ได้และแพ้แล้วหนีไป…”
จากหลักฐานตำนานเหล่านี้แสดงให้เห็นว่ามวยไทยนั้นมีพัฒนาการมาพร้อมๆ กับการเกิดบ้านเมืองบนผืนแผ่นดินสุวรรณภูมิ
In the past, Muaythai was a martial art that most Thai men had to learn and train. It is said that Muay is the basic art of fighting, use of weaponry is a secondary skill, and fighting strategies are the key to victory.
To practice Muaythai, one needs to be wily, astute, and knowledgeable. The Thai Royal Annals note that monarchs usually mastered Muaythai fighting while high-ranking royals, military noblemen as well as commoners were trained in this martial art for the purpose of self- and national defense. The practice of Muaythai also helped to optimize the use of weapons such as the Krabi (curved sword), Krabong (short wooden staff), Plong (wooden staff), sword, Ngao (halberd), and Thuan (lance), especially in close fighting.
When the kingdom was not at war, Muaytbai contests became common for those who wanted to pit their strength and fighting skills against worthy. opponents. The Law of the Three Seats, Section Miscellany, mentioned boxing as: “…117 Article 1 – If two persons made a voluntary agreement to box or fight with each other and one of them was hurt; had broken bones or even died, the other would not be penalized…”
As such, Muaythai has been important at individual, community, social, and national levels as well as playing a vital role in main-taining the kingdoi’s sovereignty
Muaythai has its origin in the land known as “Suvarnabhumi”, an extensive region in Southeast Asia in which Thailand, Myanmar, Laos, Cambodia, Vietnam, and Malaysia are currently located. In the Early Ayutthaya Period, the Palace Laws mentioned Muaythai as an entertaining activity held as part. of royal ceremonies, supposedly to come into existence around the year 957.
Muaythai is also referred to in legends of different kingdoms in Suvarnabhumi. For instance, the Annals of the North have accounts of betting on Muaythai fight staking a kingdom, which took place in the reign of King U Thong of Ayutthaya.
According to these legendary evidences, Muaythai has been developed in parallel with establishment of Thai kingdoms in the land of Suvarnabhumi.
“มวยไทย” ศิลปวัฒนธรรมการต่อสู้ป้องกันตัวของชาติไทยที่มีรูปแบบและจุดเด่นเป็นการเฉพาะตัว ธำรงไว้ด้วยลักษณะพิเศษด้านพิธีกรรม สัญชาตญาณ และบุคลิกภาพด้านศิลปะลีลาในการต่อสู้ป้องกันตัวจากการสร้างสรรค์ด้วยภูมิปัญญาบรรพบุรุษ
Muaythai is the unique national martial art that includes solemn rituals, instinctive combat, and the tactics and techniques invented and inherited from our
Muaythai is the unique national martial art that includes solemn rituals, instinctive combat, and the tactics and techniques invented and inherited from our
ปฐมบทเกียรติภูมิแห่งราชอาณาจักร

สมเด็จพระนเรศวรทรงชนช้างกับพระมหาอุปราช พระมหากษัตริย์ในอดีตจะต้องเชียวชาญการยุทธ์ เพื่อปกป้องบ้านเมืองจากอริราชศัตรู ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
King Naresuan and Phra Maha Upparat waged a hand-to-hand combat on elephants’ back, a mural painting at Suwandararam Temple, Phra Nakhon Si Ayutthaya. Ancient kings had to master martial arts and military strategies to maintain sovereignty of the kingdom.
ในห้วงเวลาของการสร้างบ้านแปงเมืองบนผืนแผ่นดินที่เป็นราชอาณาจักรไทยในปัจจุบันนี้มีการต่อสู้ระหว่างแว่นแคว้นน้อยใหญ่เพื่อรักษาขอบขัณฑสีมาและความเป็นปึกแผ่นของบ้านเมือง ชายไทยจึงต้องฝึกฝนศิลปะการต่อสู้ให้เชี่ยวชาญ ทั้งการต่อสู้ด้วยอาวุธ และมือเปล่า โดยเฉพาะพระมหากษัตริย์ในอดีตจะต้องเป็นผู้นำ เป็นนักรบ นักมวย มีความองอาจกล้าหาญ จำเป็นต้องศึกษาศิลปะศาสตร์จากอาจารย์ที่มีความรู้ในศาสตร์แขนงต่างๆ เป็นอย่างดี จึงปรากฏว่ามวยไทยได้รับการบันทึกไว้ในตำรับพิชัยสงครามโบราณ พ.ศ. ๑๘๑๘ – ๑๘๖๐ (สมัยกรุงสุโขทัย) และได้รับการยอมรับว่าเป็นกิจกรรมหรือวิชาการทางด้านการเสริมสร้างพลกำลังที่โดดเด่นเป็นองค์ประกอบของความเป็นชายชาตรี ซึ่งจะต้องประกอบด้วยคุณวุฒิ มารยาท มนุษยธรรม วีรกรรม ความทรหดอดทน อำนาจทางคาถาอาคม พลังกาย และความรู้ความชำนาญในศิลปะมวยไทยและกระบี่กระบองโดยเข้าฝึกหัดมวยตามสำนักต่างๆ เช่น สำนักสมอคน เมืองลพบุรี ตามตำนานโยนกกล่าวถึงการศึกษาของพญางำเมืองว่า “…ครั้นชนมายุได้ ๑๖ ปี ไปเรียนศิลปะในสำนักพระสุกะทันตฤาษี ณ กรุงละโว้ อาจารย์เดียวกับพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย…”
สมัยกรุงศรีอยุธยา ศิลปะมวยไทยได้ทวีบทบาทสำคัญขึ้นเป็นอันมาก ดังปรากฏในจดหมายเหตุลาลูแบร์ของเมอซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ ราชทูตชาวฝรั่งเศสในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ความตอนหนึ่งว่า “…ในอยุธยามีการชกมวย หมัด ศอก เข่า และเท้า ผู้คนนิยมกันมากจนบางคนยึดเป็นอาชีพ…”
ในยุคนี้เองที่มีการรับนักมวยเข้ารับราชการในราชสำนัก ทำหน้าที่เป็นผู้สอนมวยให้ขุนนาง ทหารและพระราชโอรส หรือเป็นราชองครักษ์หรือผู้คุ้มกันรักษาความปลอดภัยให้แก่พระมหากษัตริย์ เจ้าเมือง และเจ้านายชั้นสูง เรียกว่า ทหารเลือก บางครั้งเรียก ตำรวจหลวง รวมกันเป็นกรม เรียกว่า กรมนักมวย โดยคัดสรรชายฉกรรจ์ที่มาฝีมือในการชกมวยให้มาต่อสู้กันหน้าพระที่นั่ง แล้วคัดเลือกผู้ที่มีฝีมือดีเลิศเข้ารับราชการ
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชพระองค์ทรงเลือกคนหนุ่มรุ่นราวคราวเดียวกับพระองค์มาทรงฝึกหัดด้วยพระองค์เอง โดยฝึกให้มีความกล้าหาญ มีความเชื่อมั่นตนเอง ใช้อาวุธทุกชนิดอย่างชำนาญ มีความสามารถในศิลปะการต่อสู้มวยไทยดีเยี่ยม และพระองค์ทรงตั้งกองเสือป่าแมวเซา เป็นหน่วยรบแบบกองโจร ซึ่งทหารกองนี้มีบทบาทมากในการกอบกู้เอกราชจากพม่าใน พ.ศ. ๒๑๒๗
ในรัชสมัยนี้ นักมวยที่มีความสามารถได้รับราชการเป็นจตุลังคบาท เจ้ากรมพระตำรวจหลวงประจำ ๔ เท้าช้างทรงของพระมหากษัตริย์ในเวลาสงครามมีอาวุธเป็นดาบคู่ ดังปรากฏในลิลิตตะเลงพ่ายว่า “…จตุลังคบาทสี่ตน ล้วนขุนพลสามรรถ…” นอกจากนี้แล้วยังมีอีก ๔ นาย ยืนอยู่วงนอกมีอาวุธเป็นทวนและโล่ นายทหารทั้ง ๘ นายนี้มีบรรดาศกดิ์เป็นถึงออกพระออกขุน และเป็นผู้เชี่ยวชาญในเชิงมวยอย่างเอก อันเป็นปฐมบทของวิชายุทธ์ทั้งมวลด้วย

มวยไทยได้ดำรงบทบาทแห่งศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวที่โดดเด่นมาตลอดเวลา แม้แต่เมื่อความรุ่งเรืองของกรุงศรีอยุธยาลดน้อยถอยลงแต่ศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของมวยไทยได้เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวพม่า เมื่อนักมวยไทยฝีมือดีชื่อนายขนมต้มได้ชกมวยชนะนักมวยพม่ามอญติดต่อกันถึง ๑๐ คน ในงานพิธียกฉัตรยอดพระเกศธาตุ เจดีย์ชเวดากอง ที่เมืองย่างกุ้ง เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๑๘ เป็นเกียรติภูมิที่ยังความภาคภูมิใจแก่คนไทยมาจวบจนถึงปัจจุบัน
ใน สมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นพระมหากษัตริย์ที่สนพระราชหฤทัยมวยไทยเป็นพิเศษ ทรงมีความสามารถในศิลปะมวยไทยและกระบี่ กระบอง ซึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายต่อมาจนถึงสมัยกรุงธนบุรี มีนักมวยที่มีความสามารถมากมาย
A Dignified Thai Martial Art
When the Thai Kingdom was established, various states, small or large, fought each other to protect their territories and consolidate their sovereignty. Thus most Thai men had to be proficient with both their bare hands and weapons. In the past, Thai kings needed moral strength and the ability to master both warfare and Muaythai. They were taught by experts in different disciplines. Thai men who wanted to learn and train in Muaythai had to source well-known teachers.
In the Ayutthaya Period, the importance of Muaythai was highlighted as noted by Simon de la Loubre, a French envoy to Siam, “…In Ayutthaya, people do Muaythai using fists, elbows, knees and feet. This kind of fighting was so popular that some people took it as their occupation…”
It was in this period that Muaythai fighters had an opportunity to serve the royal court. Able-bodied males could participate in a Muaythai contest held in the presence of the king and the most capable fighters were selected to join the civil services. They were assigned to teach Muaythai to noblemen, soldiers, and royal sons. Some of them served as royal bodyguards of the king, city officials, and high-ranking royals. They were called Thanai Lueak (Selected Attendant) or Tamruat Luang (Court Police) and subject to the Krom Nak Muay (Department of Boxers).
King Naresuan the Great selected capable young men to train Muaythai and the use of weaponry. He also had a guerilla unit founded; the troop played an important part, in restoring the kingdom’s sovereignty. In his reign, exponents of Muaythai were appointed Chatulangkhabat – guards of the King’s elephant’s legs.
Even when Ayutthaya began to fall, the dignity and honor of Muaythai fighters were evident to the Burmese. Nai Khanom Tom, an able Thai fighter, defeated ten Burmese opponents in a row in a match held in Rangoon on 17 March 1775 as part of the celebration of the installation of the gold umbrella crown of the Shwedagon Pagoda (the Golden Pagoda). His victory is still remembered with pride by Thai people up to the present day.


สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์หนึ่งที่ทรงชำนาญในการรบและทรงฝึกฝนมวยไทยจนเชี่ยวชาญ ภาพจิตรกรรมสมเด็จพระเจ้าจากสินมหาราชตีค่ายโพธิ์สามต้น จากโคลงภาพพระราชพงศาวดาร
King Taksin the Great was proficient in the arts of war and Muaythai. The A painting from the Pictorial Royal Annals Verse depiects King Taksin commanded the attack of the Pho Sam Ton Camp.
In the Thon Buri Period, King Taksin the Great also had great interest in Muaythai fighting. He was well-trained in both Muaythai and Krabi-Krabong. There had been many famous masters and fighters of Muaythai since the Late Ayutthaya Period such as Master Mek of Tha Sao Village, Master Thiang of Kaeng Village, Master Hao of Muaeng Tak sub-district, Master Nin of City of Thung Yang, Mr. Thuek – a student of Master Nin, and Mr. Thongdi Fankhao (Choi) who was later elevated to Phraya Phichai Daap Hak, a loyal soldier of King Taksin the Great.
ศิลปวัฒนธรรมการต่อสู้แห่งเกียรติยศ
ล่วงถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มวยไทยยังคงความสำคัญเพราะบ้านเมืองยังอยู่ในช่วงสงคราม ความเชี่ยวชาญในเชิงมวยของคนไทยเป็นที่ประจักษ์ไปในนานาประเทศ จนถึงกับมีชาวต่างชาติเข้ามาขอท้าชก แต่ก็ต้องพ่ายแพ้กลับไปถึงแม้ว่าจะมีร่างกายสูงใหญ่กว่าคนไทยก็ตาม ในช่วงเวลานี้เองปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับมวยไทยในวรรณกรรม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของมวยทั้งที่เป็นศิลปะป้องกันตัวและเป็นการชกมวยในงานมหรสพหรืองานรื่นเริงต่างๆ มวยไทยเป็นที่นิยมอย่างมาก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวยังได้มีการเขียนภาพท่ามวยลงในสมุดข่อยบันทึกไว้

ด้วยความสำคัญและความผูกพันอย่างแนบแน่นของมวยไทย ทำให้มวยไทยในรัชกาลต่อๆ มา มีพัฒนาการขึ้น โดยลำดับ โดยเฉพาะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดกีฬากระบี่ กระบองและมวยไทยมาก ทรงให้พระเจ้าลูกยาเธอทรงหัดกระบี่กระบองและมวยไทยจนชำนาญ ส่งผลให้ศิลปะมวยไทยได้รับการสืบสานมาอย่างต่อเนื่องและเป็นพื้นฐานอันสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนมวยไทยในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศด้วย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาศิลปะมวยไทยจากสำนักมวยหลวง โดยมีหลวง มลโยธานุโยค (เสรี อาจสาลี) ครูมวยหลวงเป็นผู้ฝึกสอนในรัชสมัยนี้เป็นช่วงเวลาที่มวยไทยได้รับความนิยมแพร่หลายมากถือเป็นยุคทองของมวยไทย มีการจัดแข่งขันชกมวยหน้าพระที่นั่งในงานพระศพพระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช เมื่อวันที่ ๑๙ – ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ ในงานพระเมรุ ณ เวทีมวยสวนมิสกวัน นักมวยที่เจ้าเมืองนำมาแข่งขันล้วนแต่คัดที่มีฝีมือดี การแข่งขันครั้งนี้ได้นักมวยที่สามารถชกชนะคู่ต่อสู้หลายคนและได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนหมื่นครูมวย คือ หมื่นมวยมีชื่อ หมื่นมือแม่นหมัด และหมื่นชงัดเชิงชก

การชกมวยหน้าพระที่นั่งในพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ณ พระราชวังเดิม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นยุคทองของมวยไทย
Muaythai shows in front of the Ayutthayan old palace in the Ratchamangalaphisek Ceremony, in the reign of King Chulalongkorn, which dubbed the Golden Era of Muaythai.
พ.ศ.๒๔๓๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศตั้งกรมศึกษาธิการ วิชามวยไทยได้รับการบรรจุเป็นหนึ่งในหลักสูตรการศึกษา โดยเฉพาะโรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษา และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ซึ่งทางโรงเรียนได้จัดให้มีการฝึกหัดมวยไทยสัปดาห์ละ ๒ ชั่วโมง
พ.ศ.๒๔๔๗ สามัคคยาจารย์สมาคมได้เริ่มสอนวิชามวย ผู้ทำหน้าที่ฝึกสอนคนแรกคือ พระไชยโชคชกชนะ ต่อมามีขุนยี่สารสรรพยากร (ครูแสงดาบ) หลวงวิศาลดรุณกร (อั้น สาริบุตร) พ.ศ.๒๔๕๒ กระทรวงธรรมการเริ่มจัดตั้งสถานศึกษาวิชาพลศึกษาสำหรับครูขึ้นเป็นครั้งแรก ณ สามัคคยาจารย์สมาคมบริเวณโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เรียกว่า สโมสรการบริหาร จนใน พ.ศ. ๒๔๕๖ มีการปรับปรุงสโมสรการบริหารเป็นโรงเรียนเอกเทศขึ้น เรียกว่าห้องพลศึกษากลางใน พ.ศ.๒๕๗๖ กองกายบริหารได้จัดทำตำราทางวิชาพลศึกษาที่ใช้สอนในโรงเรียนพลศึกษากลางเพื่อเผยแพร่และประกอบการฝึกหัดมวยไทยด้วย
พ.ศ.๒๔๖๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสนามมวยขึ้นภายในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยและจัดให้มีการแข่งขันชกมวยทุกวันเสาร์ ต่อมาได้มีการสร้างสนามมวยถาวรขึ้นอีกหลายแห่ง คือ สนามท่าช้าง (ปัจจุบันคือราชนาวีสโมสร) สนามหลักเมือง (บริเวณศาลหลักเมือง) สนามสวนสนุก (บริเวณสวนลุมพินีด้านหอนาฬิกา) สนามสวนเจ้าเชตุ (บริเวณกรมรักษาดินแดน) สนามท่าพระจันทร์เวทีพัฒนาการ (บริเวณสนามแยกถนนเจริญกรุง) เวทีศรีอยุธยา (ย่านสี่กั๊กพระยาศรี) และเวทีธนบุรี (บริเวณวงเวียนใหญ่)

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลพระอัฐมราธิบดินทร ในสมัยสนามมวยหลักเมือง พ.ศ. ๒๔๗๑ ทีนักมวยที่เข้าชกแข่งขันเสียชีวิตทางการจึงได้พิจารณาจัดตั้งกรรมการตรวจพิจารณาข้อบังคับสำหรับการชกมวย และได้เปลี่ยนให้นักมวยสวมนวมแทนการคาดเชือก ต่อมาในช่วง พ.ศ. ๒๔๗๒ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๗ มีการปรับปรุงระเบียบกติกาการชกมวย โดยใช้ข้อบังคับการชกมวย ฉบับนายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การแข่งขันการชกมวยเป็นที่รู้จักแพร่หลายและมีชื่อเสียงไม่เฉพาะแต่ในประเทศเท่านั้น หากแต่ได้รับความนิยมและสนใจจากชาวต่างชาติทั้งในกลุ่มประเทศเอเชียและชาวตะวันตกมากขึ้น ทั้งนี้เป็นผลมาจากความแพร่หลายและความนิยมมวยไทยในหมู่คนไทย มีการจัดการแข่งขันมวยไทยอย่างแพร่หลายและมีการก่อสร้างสนามมวยถาวรขึ้นและดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ.๒๔๗๒ พระยาธาธรบดีได้เปิดสนามมวยสวนสนุกขึ้นในบริเวณสวนลุมพินี จัดแข่งขันชกมวยและมีมหรสพหลายชนิด ต่อมาได้เกิดสนามมวยเวทีราชดำเนินขึ้นอีกแห่งหนึ่งซึ่งเปิดทำการแข่งขันใน พ.ศ. ๒๔๘๘ และต่อมาได้มีการสร้างเวทีมวยตามมาตรฐานกติกามวยไทยของกรมพลศึกษา ได้มีการก่อสร้างสนามมวยถาวร และมีการจัดการแข่งขันต่อเนื่องมาปัจจุบันได้แก่ สนามมวยเวทีราชดำเนินและสนามมวยเวทีลุมพินี เป็นต้น
ความนิยมมวยไทยในหมู่ชาวต่างชาติจะเห็นได้จากการนำศิลปะมวยไทยออกไปเผยแพร่ในต่างประเทศและเป็นที่นิยมอย่างมาก เช่นใน พ.ศ.๒๕๐๒ นายไคโต เคนกูจิ ผู้นำทางด้านศิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่นเดินทางมาชมศิลปะการต่อสู้มวยไทยออกไปเผยแพร่ในญี่ปุ่น ต่อมา พ.ศ.๒๕๑๗ นายโอซามู โนกูจิ ได้เลียนแบบมวยไทย นำไปเผยแพร่ในยุโรปเรียกว่า คิกบ๊อกซิ่ง มีคนไทยเปิดค่ายมวยในกรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธาณรัฐเยอรมนีมีชาวต่างชาติสนใจเข้าชมคับคั่ง นอกจากนี้ยังมีนายทอม ฮาริงค์ ชาวเนเธอร์แลนด์ ได้มาฝึกหัดศิลปะมวยไทยและนำไปเผยแพร่ ทั้งได้เดินทางไปต่อสู้กับศิลปะป้องกันตัวชนิดอื่นๆ ทั้วโลกด้วย ทำให้มวยไทยเป็นที่รู้จักของชาวโลกจนถึงกับมีคำกล่าวที่ว่า “ถ้ามาเมืองไทยแล้วไม่ได้ชมการแข่งขันมวยไทยก็เท่ากับมาไม่ถึงเมืองไทย”
An Honorable Art of Fighting

In the Early Rattanakosin Period, the kingdom was still involved in warfare and so Muaythai maintained its importance. The proficiency of Muaythai fighters was recognized internationally. Many foreign fighters came to challenge them and, though bigger in size, were defeated. During this period, Muaythai was mentioned in literary works, reflecting its importance and popularity as an art of self-defense as well as an entertaining activity. In the reign of King Nang Klao (King Rama III), different postures of Muaythai fighting were portrayed in a tome with pages made from pulp of trees belonging to the family Uricaceae.
As the Siamese recognized the importance of Muaythai and had long developed close association with this martial art, Muaythai saw continuous development. King Mongkut (King Rama III) had a strong passion for Muaythai and Krabi-Krabong and had his sons trained in these fighting arts. As a result, the art of Muaythai was preserved and passed down through generations, encouraging the promotion of Muaythai in all parts of the country.
King Chulalongkorn (King Rama 10 learned and practiced Muaythai with Master Luang Mon Yothanuyok (Seri Atsali) at the Royal Boxing School. In his reign, Muaythai reached its zenith. A. boxing tournament was organized in the presence of the king at the funeral of HRH Prince Urubongse Rajasombhoj from 19-22 March 1909 at Suan Misakawan Boxing Stadium. It was executed by proficient boxers from different cities and the winners were rewarded with the title “Muen” and appointed as Muaythai masters. Among them were Muen Muay Mi Chue, Muen Mue Maen Mat, and Muen Cha-ngat Choeng Chok.
In 1887, King Chulalongkorn commanded establishment of the Department of Education. Muaythai was included in school curricula, especially that of the School for Physical Training Teachers and Chulachomklao Royal Military Academy, where Muaythai training was held two hours a week.
In 1906, the Association of United Teachers began offering a Muaythai training course. Phra Chai Choke Chok Chana was the first trainer, later joined by Khun Yisan Saphayakorn (Master Saeng Dap) and Luang Wisan Darunkorn (An Sarikbut). In 1909, the Ministry of Education had the Exercise Club established at the Association of United Teachers in the compound of Suankularb Wittayalai School. It served as the first institute in the country that provided teachers with physical education courses. In 1913, the club was upgraded to an independent school call ed the Central Physical Education School. In 1933, the Physical Training Division published a textbook covering all physical training subjects taught at the Central Physical Education School. The textbook was later used as part of Muaythai training.
Due to the growing popularity of Muaythai, a boxing stadium was constructed at the behest of King Vajiravudh (King Rama VI) in the compound of Suankularb Wittayalai School in 1921. The stadium hosted a Muaythai match every Saturday. Many permanent boxing stadiums were subsequently constructed including Tha Chang Stadium (which is the Royal Thai Navy Club now), Lak Mueang Stadium (near the City Pillar Shrine), Suan Sanuk Stadium (near the clock tower of Lumpini Park), Suan Chao Chet Stadium (in the compound of the Territorial Defence Department), Tha Phra Chan Stadium, Phatthanakan Stadium (near the Charoen Krung Junction), Si Ayutthaya Stadium (in the Si Kak Phraya Si quarter), and Thon Buri Stadium (near Wong Wian Yai).
In the reigns of King Pra.jadhipok (King Rama TO and King Ananda Plahidol (King Rama VIII) from 1929-1944, the rules of boxing were revised. The regulations on boxing, Admiral HRH Prince of Jumborn Edition, were imposed and revised on a regular basis. It was not until 1928 that a boxer died of injuries in a bout held at Lak Mueang Stadium. A committee was then set up to reconsider the boxing regulations and boxers have since worn gloves instead of wrapping their knuckles with hemp ropes or starched strips of hemp rope as before. Muaythai is widely known and has gained a reputation in other Asian and western countries. This is attributable mainly to its huge Thai following, evidenced by frequent competitions and construction of boxing stadiums, some of which still function today.
In 1929, Phraya Kharathornbodi organized a fair in Lumphini Park offering various entertainments and Muaythai matches. Later in 1945, Ratchadamnoen Stadium opened and matches were organized. Muaythai stadiums were constructed according to standards laid down in the Muaythai rules set by the Department of Physical Education. Permanent boxing stadiums replaced temporary stadiums in various venues, where fights continue to be organized to the present day Ratchadamnoen and Lumpini Stadiums, for instance. The popularity of Muaythai among foreigners has risen dramatically due to dissemination of the art abroad. For example, in 1959 Mr. Kaito Kenguchi, a Japanese martial arts master, visited Thailand and Ratchadamnoen Stadium. Deeply impressed by Muaythai he introduced the discipline to Japan. Mr. Osamu Noguchi, a Japanese boxing promoter, created a hybrid martial art combining Muaythai and karate which he introduced to Europe in 1976 as kickboxing. Muaythai schools were opened by Thai instructors in Berlin, Germany, which were well received by many Muaythai enthusiasts. In addition, Mr. Tom Harinck of the Netherlands is an exponent of Muaythai and has entered many martial arts competitions world-wide. Thus, Muaythai has been introduced to the rest of the world, and according to the saying, “If you come to Thailand and never watch Muaythai, it seems you have never come here at all.”
ผสานชั้นเชิงกับร่างกายให้เป็นอาวุธ
เอกลักษณ์ของมวยไทยที่ทำให้มวยได้มีความโดดเด่นและถือเป็นศิลปะชั้นสูงคือการใช้อวัยวะต่างๆเป็นประดุจดังเกราะและอาวุธ ในชั้นเชิงไหวพริบและวิชาเข้าต่อสู้กัน ไม่ใช่การใช้กำลังแต่เพียงอย่างเดียว กอปรด้วยศาสตร์อันได้แก่การรู้จุดอ่อน จุดแข็งของร่างกายที่จะพิชิตและเอาชนะคู่ต่อสู้ ศิลป์ คือ ลักษณะการใช้นวอาวุธอันมีรายละเอียดปลีกย่อยอย่างพิสดาร ทำให้มวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีมนต์ขลังและเป็นการต่อสู้ที่มีชั้นเชิงเป็นที่ประทับใจของคนทั้งโลก การฝึกมวยไทยโบราณ แบ่งเป็น ๓ ขั้นตอน
• เบื้องต้น ฝึกให้รู้จักป้องกันตนเองให้ปลอดภัยก่อนที่จะคิดทำผู้อื่น เรียกว่า ป้อง ปัด ปิด เปิด
• ขั้นกลาง ฝึกเพื่อเป็นนักมวยต่อสู้บนสังเวียนคือ เข้ามวยเป็น สามารถตอบโต้แก้กลับคู่ต่อสู้ได้ เรียกว่า ทุ่ม ทับ จับ หัก (ควักนัยน์ตา)
• ขั้นสูง ฝึกเพื่อเป็นนักรบ เป็นครูบาอาจารย์ไว้ใช้ราชการสงคราม ประจำกองทนายเลือกและกองอาจารย์ เป็นจารบุรุษ อาทมาฏ สอดแนม ทหารเอก ทหารรอง นายกอง แม่ทัพ คือเรียนวิชาฆ่าคน (สงวนไว้ไม่สอนพร่ำเพรื่อ) เรียกว่าประกบ ประกับ จับรั้ง เข้าข้างหลัง หักก้านคอ
The unique characteristics of Muaythai that make it one of the most refined martial arts are the use of limbs to defend and attack in lieu of shields and weapons. Muaythai does not rely purely on strength and power it also depends considerably on techniques, tactics, and strategies. Boxers need to know the strong and weak points of the body to defeat opponents. There are many striking tactics to deliver blows and they allow the ag-gressor to attack from many different angles with speed and power, continually keeping his opponent off balance. Muaythai training comprises three steps:
• Basic step : Learn self-protection before attacking others, i.e. Pong, Pat, Pid, Perd (guard, block, ward-off, and open defense).
• Intermediate step : As fighters in the ring, boxers should learn to approach and counterattack, i.e. Thum, Thub, Jub, Hak (slam, press, hold, and break [including eye gouging]).
• Advanced step : To become a warrior or instructor in case of war, and to serve as an emissary, scout, soldier, squadron leader, and commander-in-chief. This includes the art of killing which is not commonly taught. The step comprises stealthy approach, surprise, immobilization, and death blow (breaking of the neck).
