iMAES – iGLA MUAYTHAI ANIMATION EDUCATION SYSTEM

IMAES เป็นหลักสูตรมวยไทยมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับจากสหพันธ์มวยไทยระดับต่าง ๆ ทั่วประเทศ หลักสูตรนี้ได้รับการเพิ่มเติมจากโปรเจค มวยไทย ไอกล้า (ชมข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก การสร้าง iMAES) มีทั้งหมด 15 ขั้นเต็มหลักสูตรโดยขั้น 1-9 จะได้รับประกาศนียบัตรรับรองจาก WMC-IFMA-iGLA ผ่านทาง iMAES

คลังข้อมูลมวยไทยของ iMAES จะเป็นหนึ่งในคลังข้อมูลมวยไทยที่ใหญ่ที่สุดและเพียบพร้อมที่สุดเหมาะกับกานเนียนการสอนมวยไทยรวมไปถึงการศึกษาค้นคว้าต่างๆ เทคโนโลยีที่ใช้ในการพัฒนา iMAES คือ MAM (Media Asset Management) และ DAM (Digital Assent Management) สมาชิกสามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลเหล่านี้จะได้รับการเก็บรักษาเพื่อพร้อมนำออกมาใช้ไปอีกนาน

สิ่งสำคัญของหลักสูตร WMC-IFMA มวยไทย ไอกล้าคือนักเรียนจะได้รับประกาศนียบัตรสำหรับแต่ละขั้นที่สำเร็จโดยจะต้องมีการทดสอบโดยสหพันธ์มวยไทยระดับประเทศนั้นๆ ประกาศนียบัตรนี้จะเป็นตัวรับรองความสามารถของนักเรียน สร้างแรงบันดาลใจ และสามารถทำอาชีพต่อในด้านของมวยไทยกับ WMC – IFMA ทั่วโลก

iMAES เป็นคลังข้อมูลสำหรับสมาชิกในหลายรูปแบบทั้งการค้นคว้า เรียนรู้ ฝึกฝน สอบถามข้อมูล นักเรียนทุกๆคนที่สอบผ่านแต่ละขั้นจะได้เห็นชื่อและขั้นของตัวเองโชว์อยู่บนเว็บไซต์

 

ขั้นที่ 1
ขั้นที่ 2
ขั้นที่ 3
ขั้นที่ 4
ขั้นที่ 5
ขั้นที่ 6
ขั้นที่ 7
ขั้นที่ 8
ขั้นที่ 9


p1

เช่นเดียวกับกีฬาทุกๆชนิด มวยไทยก็ต้องมีการอบอุ่นร่างกายและเตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อมทุกครั้งก่อนที่จะเริ่มทำการฝึกฝนหรือต่อสู้ในทุกๆครั้ง โดยเฉพาะกับมวยไทย การเตรียมร่างกายในขั้นแรกให้พร้อมนั้นจะช่วยให้นักมวยอยู่ในสภาพที่พร้อมที่สุด เพื่อป้องกันความบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการฝึกหรือระหว่างการต่อสู้ เพราะมวยไทยเป็นกีฬาที่ใช้ร่างกายทุกๆส่วน เพราะฉนั้นร่างกายจะต้องพร้อมที่จะตอบสนองท่วงท่าต่างๆของคู่ต่อสู้อย่างรวดเร็วและเฉียบขาด พื้นฐานแรกของนักเรียนที่สนใจฝึกฝนมวยไทยที่สำคัญที่สุดคือการวอร์มร่างกาย ให้พร้อมสำหรับการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วในการต่อสู้และฝึกฝน และที่สำคัญการไหว้ครูนั้นเป็นเอกลักษณ์ของมวยไทยเพื่อระลึกถึงผู้มีพระคุณ และยังช่วยให้จิตใจสงบ ผ่อนคลาย และเพิ่มกำลังใจ

more..

become a member


p2

การใช้หมัดในมวยไทยมีหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการชกนำ ชกตาม และอื่นๆอีกมากมายซึ่งการชกแต่ละชนิดก็มีหลักการใช้สำหรับสถานการณ์ต่างๆกัน การใช้หมัดชกแต่ละท่านั้นสามารถเป็นอันตรายได้ผู้เรียนควรฝึกฝนให้มั่นใจก่อนนำไปใช้จริง ท่าชกแต่ละท่าในขั้นนี้มีการอธิบายพร้อมภาพแอนนิเมชั่นประกอบอย่างชัดเจนง่ายแก่การฝึกฝนและเข้าใจ

more..

become a member


p3

การใช้อวัยวะส่วนเท้าในมวยไทยทำได้ทั้งเตะและถีบ ซึ่งทั้งสองท่านี้ใช้การได้ดีทั้งในสถานะการรุกและรับเนื่องจากว่าเป็นอาวุธที่มีช่วงยาวสำหรับการรุกหน้าและการตั้งรับอย่างรวดเร็ว การถีบต่างๆเช่นถีบตรง ถีบเหน็บ ถีบจิก ฯลฯ

ส่วนการเตะนั้นมีหลายท่าเช่นเตะตรง เตะเฉียง กระโดดเตะ ฯลฯ ขั้นที่ 3 นี้จะมีทั้งหมด 25 ท่าให้นักเรียนได้ฝึกฝนตามแอนนิเมชั่นและคำอธิบายอย่างง่ายดายและชัดเจน

more..

become a member


p4

การใช้เข่าและศอกเป็นสิ่งที่บ่งบอกความเป็นมวยไทยอย่างชัดเจนที่ไม่มีศิลปะป้องกันตัวชนิดใดที่เหมือน การใช้ศอกและเข่าในมวยไทยนั้นเรียนรู้ได้ไม่ยากแต่การนำมาใช้จริงนั้นเป็นสิ่งที่ต้องใช้การฝึกฝนค่อนข้างมาก สำหรับู้ที่เชี่ยวชาญแล้ว ศอกและเข่าสามารถใช้เป็นอาวุธที่สำคัยในการต่อสู้ระยะประชิด ในหลักสูตร iMAES มีท่าเข้าที่ต้องฝึกฝนทั้งหมด 18 ท่า แบ่งเป็นสองประเภทคือการใช้เข่าอย่างเดียว หรือการใช้เข่าและแขนร่วมกัน การฝึกฝนการใช้เข่าควรต้องฝึกเป็นคู่และนักเรียนควรฝึกทฤษฎีจนคล่องก่อนที่จะนำไปปฏิบัติจริง ท่าเข่าทุกท่ามีการอธิบายพร้อมภาพแอนนิเมชั่นประกอบอย่างชัดเจนง่ายแก่การฝึกฝนและเข้าใจ

more..

become a member


p5

อวัยวะระหว่างแขนส่วนบนและล่าง หรือข้อศอกนี้ เป็นอาวุธที่มีพลังอยากมากสำหรับมวยไทย ข้อศอกเป็นส่วนที่แข็งและแหลม สามารถสร้างความเจ็บปวด บาดเจ็บ หรือน็อกคู่ต่อสู้ได้หากถูกนำมาใช้อย่างถูกวิธี ตรงเป้าหมาย และถูกสถานการณ์ การใช้ศอกมีหลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการตัด การงัด เป็นต้น ผู้เรียนควรฝึกซ้อมท่าทางให้คล่องแคล่วด้วยตนเองก่อนนำไปฝึกซ้อมเป็นคู่เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ ท่าศอกทุกท่ามีการอธิบายพร้อมภาพแอนนิเมชั่นประกอบอย่างชัดเจนง่ายแก่การฝึกฝนและเข้าใจ

more..

become a member


p6

ในแต่ละขั้นของมวยไทยที่ผ่านมามีการอธิบายการใช้ส่วนต่างๆของร่างกายสำหรับการต่อสู้ในมวยไทย สิ่งที่ตรงข้ามกับการรุกสู้ก็คือการตั้งรับและป้องกันตัวซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับศิลปะมวยไทยเพราะการรุกสู้มาจากการตั้งรับหรือการป้องกันที่ดีจนสามารถมองเห็นช่องโหว่ให้เป็นฝ่ายรุกและสามารถทำได้อย่างแม่นยำ ชัดเจน และเฉียบขาด ในขั้นนี้จะมีการฝึกสอนการตั้งรับและป้องกันตัวทั้งหมด 6 แบบ ทั้งตั้งรับด้วยหมัด ศอก เข่า เท้า ซึ่งจะมีการอธิบายอย่างละเอียด สามารภถนำมาใช้ในการเข้าแทรกการรุกของคู่ต่อสู้ การถอยสั้น ถอยยาว การแบ่งรับน้ำหนักจากการรุก การใช้ร่างกายส่วนต่างๆในการป้องกันตัว และอื่นๆ การป้องกันตัวทุกท่ามีการอธิบายพร้อมภาพแอนนิเมชั่นประกอบอย่างชัดเจนง่ายแก่การฝึกฝนและเข้าใจ

more..

become a member


7_earwan_03
ศิลปะมวยไทย เป็นศิลปะการป้องกันตัวที่เกิดขึ้นมาช้านานด้วยหลักการต่อสู้ที่สำคัญคือ

  • 1. การต้านหมัด
  • 2. การต้านศอก
  • 3. การต้านเข่า
  • 4. การต้านเตะ
  • 5. การโจมตี

เทคนิคการต่อสู้เหล่านี้ ผู้ที่ฝึกฝนมวยไทยจะต้องเข้าใจถึงเป้าหมายของแต่ละเทคนิค เพื่อจะเรียนรู้ถึงวิธีต้าน เทคนิคการใช้งานท่านต้านหรือท่าป้องกันเหล่านี้ขึ้นอยู่กับสัญชาตญาณและความรวดเร็วของผู้ฝึกแต่ละคน ท่าเหล่านี้เช่นการตั้งการ์ด การหลบ การกระโดด การศอก การผลัก ฯลฯ เมื่อผู้ฝึกสามารถปฏิบัติได้อย่างเชี่ยวชาญก็สามารถนำไปใช้ในการป้องกันตัวในสังเวียนได้

more..

become a member


8_ramasoon_01

แม่ไม้มวยไทยเป็นการผสมผสานการใช้หมัด เท้า เข่า และศอกในการป้องกันและโจมตี การที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญในแม่ไม้มวยไทยนั้นต้องใช้เวลาฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอสำหรับท่าต่างๆในการตั้งรับและโจมตี เมื่อครั้งที่ท่าทางต่างๆเหล่านี้เริ่มเกิดขึ้น ท่าต่างๆนี้ได้รับการแยกกลุ่มอย่างชัดเจนและตั้งชื่อให้จำง่ายและคล้องจองกัน โดยแท้จริงแล้วมวยไทยเป็นการต่อสู้ที่ใช้เพียงมือเปล่าหรือมีเพียงผ้าพัน จึงทำให้ง่ายต่อกันบิดหรือหักตัวคู่ต่อสู้ เทคนิคนั้นสำคัญกว่าแรง นับจากทุกๆเทคนิคท่วงท่าของมวยไทยที่มีนับร้อยนั้น มีเพียง 15 ท่าที่นับว่าเป็นแม่ไม้มวยไทยที่สำคัญ

more..

become a member


9_praram plang sorn

การไหว้ครูในมวยไทยที่มีมาตั้งแต่เริ่มต้นนั้นมีความสำคัญต่อศิลปะการต่อสู้ชนิดนี้มาก การไหว้ครูจะทำให้นักมวยเสมือนได้รับพรจากครูและสิ่งที่นับถือเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการต่อสู้ การไหว้ครูไม่เพียงแต่จะช่วยให้นักมวยได้ศึกษาท่วงท่าของคู่ต่อสู้ แต่ช่วยให้จิตใจสงบและร่างกายพร้อมสำหรับการต่อสู้ด้วย

more..

become a member

 

หลักสูตรมวยไทย

WMC – IFMA- iGLA

1. คำนำ

หลักสูตรมวยไทย ไอกล้า คือการศึกษามวยไทยโดยที่ครูผู้สอนใช้หลักสูตรการสอนรวมไปถึงการใช้ภาพแอนนิเมชั่นจากหลักสูตรมวยไทย ไอกล้าเพื่อการสอน ดังนั้นผู้ที่จะเป็นครูฝึกสอนจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจกับหลักสูตรให้ละเอียดและเข้าใจว่าจะสามารถนำหลักสูตรนี้ไปทำการฝึกสอนอย่างไร ในหลักสูตรนี้นักเรียนจะสามารถศึกษาท่วงท่าที่ถูกต้องตามตำรามวยไทยในภาพแอนนิเมชั่นแบบ 360 องศาและชมได้ซ้ำๆจนกว่าจะเข้าใจก่อนนำไปฝึกฝนจริง นอกจากนี้ครูผู้ฝึกสอนจะต้องเน้นย้ำเรื่องข้อดี ข้อเสีย และวิธีการนำไปใช้ของแต่ละท่าให้นักเรียนเข้าใจ

สำหรับการสอนในแต่ละระดับผู้ฝึกสอนจะต้องสามารถนำนักเรียนให้อบอุ่นร่างกายตามแบบฉบับของมวยไทย และสามารถนำนักเรียนให้ทำกิจกรรมต่างๆ จากที่ได้เรียนรู้ในชั้นเรียนออกไปใช้ได้ และที่สำคัญที่สุดคือต้องสามารถให้คะแนนนักเรียนในการผ่านเลื่อนขั้นได้

ระดับการเรียนในหลักสูตรมีทั้งหมด 3 ระดับ

– ระดับเริ่มต้นทั้งหมด 6 ขั้น

– ระดับกลางทั้งหมด 1 ขั้น

– ระดับสูงทั้งหมด 2 ขั้น

การสอนนักเรียนในเรื่องของการไหว้ครูในมวยไทยนั้นก็เป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญสำหรับหลักสูตรมวยไทย เพราะการไหว้ครูนั้นเป็นเอกลักษณ์ที่พิเศษเฉพาะของมวยไทย เป็นการสานต่อวัฒนธรรมการเคารพครู ผู้ใหญ่ พ่อแม่ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อและขนบธรรมเนียมไทยที่มีมานาน

2. ระยะเวลาในการเรียนแต่ละขั้น

ขั้น เนื้อหาสำคัญ จำนวนของท่า ระยะเวลาการเรียน ( 2 ชั่วโมง/ชั้นเรียน )
1 – ตั้งการ์ด 12
– การเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่างๆ
– ไหว้ครู ขั้นเริ่มต้น 8
2 – การใช้หมัด 8 12
– หมัดป้องกัน 5
3 – การเตะ 16
– การถีบ 9
– เตะ 9
– การป้องกันด้วยการเตะ 5
4 – เข่า 14 12
– การป้องกันด้วยเข่า 4
5 – ศอก 12 12
– การป้องกันด้วยศอก 4
6 – การป้องกันตัวขั้นเริ่มต้น 25 16
7 – เทคนิคการใช้หมัด 7 24
– เทคนิคการเตะ 7
– เทคนิคการใช้เข่า 7
– เทคนิคการใช้ศอก 7
8 – กลยุทธ์การใช้หมัด 10 24
– กลยุทธ์การเตะ 6
– กลยุทธ์การใช้เข่า 3
– กลยุทธ์การใช้ศอก 4
9 – ศิลปะการไหว้ครูขั้นสูง 18 16
ทั้งหมด 172 144

 

3. ขั้นตอนการสอนมวยไทยโดยการใช้หลักสูตรไอกล้าภายใน 1 ชั้นเรียน (2 ชั่วโมง)

1. การเตรียมตัว (20 นาที):

ในขั้นตอนการเตรียมตัวผู้สอนจะต้องนำนักเรียนเข้าสู่การเรียนด้วยความพร้อมทั้งกายและใจ การพูดให้กำลังใจ การตรวจสอบเครื่องแต่งกายและพานักเรียนอบอุ่นรางกายตามแบบฉบับของมวยไทย

2. การสอน (20 นาที):

ในขั้นตอนการสอนผู้สอนจะเปิดภาพแอนนิเมชั่นของท่าที่จะสอนในชั้นเรียนนั้นให้นักเรียนชม พร้อมการอธิบายท่าทาง ความเป็นมา จุดเด่นของท่า ข้อดีข้อเสีย เทคนิคการนำท่ามาใช้กับสถานการณ์ต่างๆ และแสดงท่าให้กับนักเรียนได้ชมจริงเป้นตัวอย่างก่อนฝึก

3. การฝึก (40 นาที):

นักเรียนจะมีเวลา 40 นาทีในการฝึกท่ามวยไทยของชั้นเรียนนั้นโดยครูผู้ฝึกจะต้องดูแลกำกับอย่างใกล้ชิดให้นักเรียนทำท่าที่ถูกต้องและแนะนำวิธีการฝึกฝนเพิ่มเติมให้ดีขึ้นสำหรับนักเรียนแต่ละคน

4. การใช้ (30 นาที)

ในขั้นนี้ผู้ฝึกสอนสามารถให้นักเรียนทำกิจกรรมตามที่ผู้ฝึกสอนเห็นสมควรไม่ว่าจะเป็นการจับคู่ การแสดงท่าแบบเดี่ยว หรืออื่นๆเพื่อให้นักเรียนสามารถแสดงให้เห็นว่าได้เรียนรู้ท่านี้อย่างถ่องแท้แล้วโดยครูผู้ฝึกสอนคอยให้คะแนนและดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดระหว่างฝึกซ้อม

5. การให้คะแนน (10 นาที)

ในการสรุปการเรียนของชั้นเรียนนั้นๆ ผู้ฝึกสอนจะต้องสรุปโดยรวมให้นักเรียนได้ทราบในสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนั้น รวมไปถึงข้อผืดพลาดโดยรวม การแก้ไข และแนะนำการฝึกฝนเพิ่มให้นักเรียน การให้คะแนนสามารถทำได้โดยการสังเกตและพูดคุย

4. การประเมิณนักเรียน

การประเมิณนั้นแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

1.ประเมิณด้านความรู้และความเข้าใจโดยนักเรียนจะต้องสามารถอธิบายว่า:

– ในแต่ละขั้นนั้นมีท่าอะไรบ้าง

– สามารถอธิบายประโยชน์ของทุกท่าในแต่ละขั้นได้

– สามารถอธิบายได้ว่าแต่ละท่าในแต่ละขั้นนั้นสามารถใช้และไม่สามารถใช้ได้ในสถานการณ์ใดบ้าง

2. การประเมิณด้านความคิดและความรู้สึกของนักเรียนต่อกีฬาที่นักเรียนกำลังศึกษา การประเมิณด้านความสนใจและเอาใจใส่ในการฝึกฝนและความเข้าใจในการรู้แพ้ รู้ชนะของกีฬา โดยสิ่งเหล่านี้สามารถประเมิณได้จาก

– การมาเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอ

– ปฏิบัติตามกฎกฏิกาต่างๆของมวยไทยอย่างเคร่งครัด

– การให้ความเคารพต่อครูผู้ฝึกสอนและเพื่อนร่วมชั้นเรียน

3. การประเมิณความสามารถโดยการประเมิณท่วงท่าของนักเรียนให้มีความถูกต้อง เฉียบขาดและมีพลัง

– ท่วงท่าที่ถูกต้อง

– ความมีพลัง ว่องไว

– การเคลื่อนไหวที่สมดุลย์

5. แบบฟอร์มการประเมิน

ระดับ ขั้น วิชา

 

การประเมิณความรู้ (100)
อธิบายท่าทั้งหมด (40) อธิบายประโยชน์ของท่า (40) อธิบายประโยชน์ของท่า (20)

 

การประเมิณอุปนิสัย (100)
ความเอาใจใส่การเรียน (60) การปฏิบัติตามกฏ (20) การเคารพผู้อื่น(20)

 

การประเมิณความสามารถ(100)
ท่วงท่าที่ถูกต้อง (50) ความสมดุลย์ของการเคลื่อนไหว (20) ความคล่องแคล่ว (30)

6. วิธีการประเมิน

ครูผู้ฝึกสอนจะเป็นผู้ทำการประเมิณและให้คะแนนโดยการสังเกต การพูดคุยและการให้นักเรียนทำข้อสอบต่างๆและในที่สุดนำผลคะแนนมารวมกันเพื่อหาค่าเฉลี่ยของการประเมิณในแต่ละหัวข้อ

7. การตัดสิน

นักเรียนที่จะได้รับการตัดสินให้ผ่านเลื่อนขั้นจะต้องมีคะแนนไม่ต่ำกว่า 80%

8. ผู้ประเมิน

ผู้ที่จะทำการประเมิณสำหรับหลักสูตรมวยไทยไอกล้าจะต้องเป็นผู้ฝึกสอนมวยไทยที่มีคุณวุฒิซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานจาก WMC-IFMA หรือจากองค์กรกีฬามวยที่ได้รับการรับรองจาก WMC-IFMA และมีวุฒิบัตรดังต่อไปนี้

1. วุฒิบัตรครู

2. วุฒิบัตรผู้ช่วยครูใหญ่

3. วุฒิบัตรครูใหญ่

สำหรับวุฒิบัตรครูเชี่ยวชาญและบรมครูซึ่งเป็นฐานะที่ได้รับการแต่งตั้งเท่านั้น 2ชนิดนี้จะสามารถประเมิณนักเรียนได้ในทุกๆระดับขั้น

ครูผู้ประเมิณจะต้องแจ้งนักเรียนถึงระดับขั้นที่นักเรียนได้ไปถึงพร้อมจัดการให้ทางสโมสรหรือยิมต้นสังกัดเรื่องการทำการขอประกาศนียบัตร พร้อมประเจียดและมงคลในสีต่างๆตามระดับขั้นของนักเรียน

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญสำหรับนักเรียนมวยไทยคือการได้เข้าร่วมพิธีไหว้ครูพร้อมกันในวันมวยไทยโลกซึ่งมีการจัดขึ้นทุกๆปีที่ประเทศไทย นักเรียนมวยไทยควรจะต้องมีชุดมวย พร้อมประเจียดและมงคลเป็นของตัวเอง

 

ประกาศนียบัตร
certมวยไทยเป็นศิลปะป้องกันตัวที่มีทั้งศาสตร์และศิลป์ในตัว ในบรรพกาล คนรุ่นก่อนได้ใช้มวยไทยเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้เพื่อปกป้องประเทศของเรา มีการฝึกฝนแพร่หลายทั้งกับชาวบ้าน ทหาร เจ้านายชั้นสูง นอกเหนือจากการฝึกฝนเพื่อความแข็งแกร่งของร่างกาย เป็นศิลปะของชาติที่ได้รับการสืบทอดมาจนปัจจุบัน สำหรับผู้ที่ฝึกฝนมวยไทยผ่านโปรแกรม iMAES จะได้รับการทดสอบ เลื่อนขั้น พร้อมประกาศนียบัตรที่ได้รับการรับรองจากสมาคมมวยไทยโลกและสหพันธ์มวยไทยระดับประเทศ ประกาศนียบัตรนี้จะเป็นเครื่องหมายแสดงความสามารถของนักเรียนและเพิ่มกำลังใจในการฝึกฝนเพื่อเลื่อนขั้นต่อๆไป